ผลประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนงาน
ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
สรุปผลการประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนงานตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(ศปข.ศธ.) ครั้งที่ 1/2558
เมื่อวันจันทร์ที่ 7 กันยายน 2558 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ โดยมีพันเอก ณัฐพงษ์ เพราแก้ว
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะเลขานุการ ศปข.ศธ. เป็นประธานการประชุม โดยมีประเด็นสำคัญจากการประชุมสรุปดังนี้

ที่ประชุมได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้ง ศปข.ศธ. โดยมี รมว.ศึกษาธิการ
เป็นประธานกรรมการ และมี รมช.ศึกษาธิการ เป็นรองประธานกรรมการ, กรรมการ ประกอบด้วยผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงฯ
ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ ที่ปรึกษา รมช.ศึกษาธิการ คณะทำงานของรัฐมนตรี
หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน (สนย./สนผ.)
องค์กรหลัก/สำนักงาน กศน./สช. หัวหน้ากลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานรัฐมนตรี
และหัวหน้ากลุ่มสารนิเทศ สป. โดยมีเลขานุการ
รมว.ศึกษาธิการ เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยมีผู้ช่วยเลขานุการ รมว.ศึกษาธิการ และผู้อำนวยการ สนย.สป.
เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
เพื่อทำหน้าที่ติดตามข้อสั่งการของ รมว.ศึกษาธิการ
รับทราบปัญหาข้อขัดข้องในการดำเนินการตามนโยบาย
วิเคราะห์ข้อเสนอขององค์กรหลัก/คณะทำงานระดับคลังสมองของรัฐมนตรี
เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล และรวบรวมความคีบหน้ารายงานรัฐมนตรี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันงานสำคัญตามนโยบาย รมว. ศึกษาธิการ 26 เรื่องหลักให้เป็นรูปธรรม
มีระบบและเป็นไปตามห้วงเวลาที่กำหนด

ที่ประชุมรับทราบการแบ่งงานให้ รมช.ศึกษาธิการ
ขับเคลื่อนการปฏิบัติตามงานตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ซึ่งแบ่งงานเป็น 2 ส่วน คือ 1) แบ่งงานตามอำนาจหน้าที่ โดยมอบให้พลเอกสุรเชษฐ์
ชัยวงศ์ ดูแลรับผิดชอบ สพฐ.-สอศ.-สำนักงาน กศน. ส่วนนายแพทย์ธีระเกียรติ
เจริญเศรษฐศิลป์ ดูแลรับผิดชอบ สกอ.-สกศ.-สสวท.-สทศ. 2)
แบ่งงานตามนโยบาย 26 เรื่อง โดยในส่วนนี้จะมีผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการมาช่วยขับเคลื่อนอีกด้วย
รายละเอียดดังนี้
|
26 นโยบาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ |
|
||||
|
ที่
|
นโยบาย
|
รมช.ศธ.
สุรเชษฐ์ฯ |
รมช.ศธ.
ธีระเกียรติฯ |
ผช.รมต.ศธ.
|
|
|
1
|
การแปลงพระราชดำรัสฯ
เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาไปเป็นแผนงานโครงการ
|
|
ü
|
|
|
|
2
|
การปรับปรุงโครงสร้างเวลาเรียน
(ป.1-ม.3)
|
ü
|
|
|
|
|
3
|
การประเมินเพื่อความก้าวหน้าที่สอดคล้องกับผลการพัฒนาผู้เรียน
|
|
ü
|
|
|
|
4
|
การจัดทำโครงการอบรมสัมมนาต้องตอบโจทย์
|
|
|
ü
|
|
|
5
|
การลดภาระงานที่ไม่เกี่ยวกับการสอนของครู
การลดนำเด็กออกจากห้องเรียน
|
|
ü
|
|
|
|
6
|
การยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในทุกหลักสูตร
|
|
ü
|
|
|
|
7
|
การนำ ICTมาใช้ใน ศธ.อย่างกว้างขวาง
|
|
|
ü
|
|
|
8
|
การแก้ไขปัญหาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้
|
ü
|
|
|
|
|
9
|
การแก้ไขปัญหาการทุจริต
|
ü
|
|
|
|
|
10
|
การเปลี่ยนค่านิยมให้เข้าสู่อาชีวศึกษาให้มากขึ้น
1) การจัดการศึกษาระบบทวิศึกษา |
ü
|
|
|
|
|
11
|
2) ความร่วมมือกับสถานประกอบการและสถานศึกษาในการฝึกภาคปฏิบัติ
จบแล้วสามารถประกอบอาชีพได้ทันที
|
ü
|
|
|
|
|
12
|
3) การลดเรื่องการทะเลาะวิวาท
โดยให้โอกาสนักศึกษาเข้าฝึกงานในสถานประกอบการ
|
ü
|
|
|
|
|
13
|
4) การทำให้สถานศึกษาอาชีวะมีความเป็นเลิศเฉพาะด้าน
|
ü
|
|
|
|
|
14
|
5) การจัดการศึกษาอาชีวะมาตรฐานสากล
|
ü
|
|
|
|
|
15
|
สกอ.
1) กำหนดบทบาทการผลิต นศ.ให้ชัดเจนตามความถนัดและความเป็นเลิศของแต่ละสถาบัน ลดความซ้ำซ้อน |
|
ü
|
|
|
|
16
|
2) กำหนดให้มี Outcome เช่น
การวิจัยและพัฒนาจนเกิดเป็นนวัตกรรมที่เกิดจากทรัพยากรในท้องถิ่น
|
|
ü
|
|
|
|
17
|
3) สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่
ต้องเป็นพี่เลี้ยงให้แก่โรงเรียนในการพัฒนาท้องถิ่น
|
|
ü
|
|
|
|
18
|
สำนักงาน กศน.
1) จัดโครงการติวเข้มเติมเต็มความรู้ |
ü
|
|
|
|
|
19
|
2) จัดโครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมฯ
ตอนปลาย เพื่อพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาให้มากขึ้นและตรงตามความต้องการ
|
ü
|
|
|
|
|
20
|
3) ส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาคนทุกช่วงวัย
โดยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
|
ü
|
|
|
|
|
21
|
4) ให้
กศน.ตำบล เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการเชื่อมประสานระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน
โดยดำเนินการในรูปคณะกรรมการ กศน.ตำบลในวัด
|
ü
|
|
|
|
|
22
|
สกสค.
|
|
|
ü
|
|
|
23
|
การอำนวยการเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
|
|
|
ü
|
|
|
24
|
การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
|
ü
|
|
|
|
|
25
|
การปฏิรูปการศึกษา
|
|
ü
|
|
|
|
26
|
การสอนให้นักเรียนนักศึกษาตัดสินใจโดยการใช้ความเป็นจริง
(fact) มากกว่าความรู้สึก
(Feeling)
|
|
|
|
|
หมายเหตุ : นโยบายข้อ 26 รอการยืนยันอีกครั้งหนึ่ง

- ช่วงเวลา 1-2 สัปดาห์นี้
จะเน้นการติดตามแผนการดำเนินงานและผลการดำเนินงานใน 3 เรื่อง คือ การยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษ
การปรับลดเวลาเรียน และการเปลี่ยนค่านิยมในการเรียนอาชีวศึกษา
โดยขอให้คณะทำงานและผู้รับผิดชอบจัดทำผังแนวความคิด (Mind Map) ให้มีความก้าวหน้าเพื่อเสนอในวันศุกร์ที่ 11 กันยายนนี้, สำหรับโครงสร้างหลักสูตรและกิจกรรมที่จะดำเนินการตามนโยบายลดเวลาเรียนนั้น
จะต้องนิ่งภายในวันที่ 10 ตุลาคมนี้
เพื่อประกาศใช้ในช่วงเปิดภาคเรียนเดือนพฤศจิกายนนี้
- การดำเนินการตาม Roadmap 26 นโยบาย ให้ สนย./สนผ.ทุกองค์กรหลักและหน่วยงานต่างๆ
จัดทำรายละเอียดการดำเนินการตามนโยบายให้เสร็จสิ้นภายใน 2 สัปดาห์นี้
เพื่อให้เป็นกรอบแนวทางดำเนินการขับเคลื่อนตลอดปีงบประมาณ 2559 รวมทั้งใช้ในการขออนุมัติจัดสรรวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2560 ของกระทรวงศึกษาธิการด้วย ซึ่งขอให้พิจารณาดำเนินการตามแนวคิดของ
รมว.ศึกษาธิการ คือ ฉีกปัญหาให้ขาด ต้องลงไปถึงฐานข้อมูลระดับต่างๆ
และนำตารางประสานสอดคล้องมาใช้จัดทำ Roadmap และเมื่อกระทรวงศึกษาธิการได้เห็นชอบ Roadmap แล้ว จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบ
ซึ่งจะมีผลต่อการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมจากรัฐบาล เช่น งบกลาง ต่อไปด้วย

- จะมีการประชุมคณะกรรมการชุดนี้ทุกวันจันทร์ เวลา 9.30
น. ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ซึ่งผลจากการประชุม ศปข.ศธ.
ถือเป็นแนวทางดำเนินการขับเคลื่อนตามนโยบายดังกล่าวได้ทันทีโดยยังไม่ต้องรอหนังสือสั่งการ
และก่อนหน้านั้นทุกวันพฤหัสบดีจะมีการประชุมเฉพาะคณะทำงานรัฐมนตรีและ สนย./สนผ.
เพื่อจัดเตรียมข้อมูลการประชุม ซึ่ง สนย.สป.
จะเป็นผู้ติดตามประสานงานข้อมูลโดยตรงกับองค์กรหลักและหน่วยงานในกำกับ
- เรื่องร้องเรียนต่างๆ ขอให้ทุกหน่วยงานให้ความสนใจและดำเนินการ
และควรมีการรายงานผลความคืบหน้าต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับเป็นระยะๆ ด้วย
โดยเฉพาะเรื่องที่มาจาก ปปช. และ สตง. นั้น หน่วยงานที่รับผิดชอบควรจะต้องชี้แจง
รายงานผลความคืบหน้า ข้อยุติ ให้ทันภายในกำหนดระยะเวลา
- งานด้านประชาสัมพันธ์ จากการที่รัฐบาลได้จัดพิมพ์
"จดหมายข่าวรัฐบาลเพื่อประชาชน" รายปักษ์ขึ้น
จึงเป็นช่องทางสำคัญที่ทุกหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการควรให้ความสำคัญ
โดยสลับหมุนเวียนส่งไปตีพิมพ์เผยแพร่ ซึ่งข้อมูลข่าวสารก็จะต้องสอดคล้องกับ 26
นโยบายกระทรวงศึกษาธิการด้วย ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบให้กลุ่มสารนิเทศ
สป. ไปหารือกับกลุ่มงานด้านประชาสัมพันธ์องค์กรหลักต่างๆ ต่อไป
รวมทั้งหารือแนวคิดและแนวทางดำเนินการสื่อสาร "เสมาสนเทศ"
แล้วให้นำเสนอต่อที่ประชุม ศปข.ศธ. พิจารณาครั้งต่อไปด้วย
บัลลังก์ โรหิตเสถียร : กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานรัฐมนตรี
สรุป/รายงาน
7/9/2558
สรุป/รายงาน
7/9/2558
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น